วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บันทึกความรู้ครั้งที่ 9 วันที่ 9 สิงหาคม 2556

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย


เวลา 13.10-16.40 น.


- อาจารย์นำเพลงมาสอนหลากหลายเพลง  ได้แก่

     เพลง ชื่อของเธอ
ชื่อของเธอฉันไม่รู้จัก   ครูถามทัักนักเรียนเข้าใหม่
ชื่อของเธอฉันจำไม่ได้  ชื่ออะไรขอให้บอกมา

     เพลง Hello Hello  Hello.
Hello Hello  Hello.    How  are  you
I'm find , I'm find.    I hope that  you  too.

      เพลง  บ้านของฉัน
บ้านของฉัน  อยู่ด้วยกันมากหลาย
พ่อแม่ลุงป้า   ปู่ย่าตายาย
มีทั้งน้าอา  พี่และน้องมากมาย
ทุกคนสุขสบาย  เราเป็นพี่น้องกัน

      เพลง ตบแผละ
ตบแผละ ตบแผละ  ตบแผละ  
ปากใจตรงกันนั่นแหละ
เรามาลองฝึกกัน
จิตกายสัมพันธ์กับปากตบแผละ

      เพลง  ขอบคุณ  ขอบใจ
เมื่อผู้ใหญ่ใจดีให้ของ  
หนูๆ ควรต้องนึกถึงพระคุณ
น้อมไหว้กล่าวคำขอบพระคุณ 
 เพื่อนมีใจเผื่อแผ่การุณ
นึกถึงบุญคุณกล่าวคำขอบใจ

       เพลง อย่าทิ้ง
อย่าทิ้ง  อย่าทิ้ง อย่าทิ้ง      ทิ้งแล้วจะสกปรก
ถ้าเราเห็นมันรก                   ต้องเก็บ ต้องเก็บ ต้องเก็บ


       เพลง ตาและหู
ตาเรามีไว้ดู  หูเรามีไว้ฟัง
เวลาครูสอนครูสั่ง  ต้องตั้งใจดูต้องตั้งใจฟัง







ถอดรหัสคำ


                  





                                                          



                    บวกกับ       




    


    เฉลย  แก้วน้ำ



           บวกกับ                                      คำว่า.... ตำ

                                                                                                         

เฉลย    ส้มตำ
                                                                  


                                                                                                      







     #ความรู้ที่ได้รับจากการเรียนวิชานี้
                   -สามารถนำไปใช้ในการสอนได้จริง
                   -ทำให้มีความสามารถและกระบวนการมากขึ้น





วันอังคารที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บันทึกความรู้ครั้งที่ 8 วันที่ 2 สิงหาคม 2556









สอบกลางภาค










บันทึกความรู้ครั้งที่ 7 วันที่ 26 กรกฎาคม 2556

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย


เวลา 13.10-16.40 น.

- อาจารย์ให้ตัวแทนแต่ละภาคออกไปร้องเพลงกล่อมเด็ก

ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน และสั่งงาน 3 ชิ้น

           1. เลือกเพลงกล่อมเด็ก 1 เพลง ของแต่ละกลุ่ม แล้วทำเป็นวิดีโอใส่ในบล็อก แต่ต้องร้องทุกคน
        
           2. เลือกหน่วยให้เด็กทำ กลุ่มดิฉันเลือก หน่วยสัตว์เลี้ยง

           3. หาเพลงอะไรก็ได้ 1 เพลง จะเป็นสตริง ลูกทุ่ง หรือเพื่อชีวิตก็ได้ แต่ต้องประกอบด้วย 

               - เนื้อเพลง
               -  วัตถุประสงค์ของเพลง
               - ฟังเพลงนี้แล้วรู้สึกอย่างไร
               - ท่อนไหนที่นำไปใช้ในการเรียนการสอนได้

                                  เพลง 18 ฝน                


                                ศิลปิน: เสือ ธนพล อินทฤทธิ์
                                อัลบั้ม: ที่ของเสือ
                                           อาจจะมี บางทีฉันดูฉันดูสับสน
                                     มีใครบ้างไหมสักคน ยอมทนรับฟังเรื่องราว
                                     บ้านที่มี บางทีก็เหมือนไม่มี
                                     มันคือนรกดีดี บางทีฉันก็ปวดร้าว
                                     เฝ้าอิจฉา ดูใครเขาพร้อมครอบครัว
                                     ทำไมฉันมีแต่ตัว หวาดกลัวไม่รู้เรื่องราว     
                                     รู้บ้างไหม ในหัวใจ มันร้องหาใครสักคน
                                      คอยปรึกษา คอยเข้าใจ
                                     ไม่ขอมากไปกว่านี้
                                     18 ฝน 18 หนาว มันร้าวในใจสิ้นดี
                                      อย่าลืมฉัน อย่าเดินหนี  วันนี้ หัวใจสับสน 
                                      เกิดกำแพง กำแพงที่มองไม่เห็น
                                      ปิดใจฉันแสนชาเย็น เหมือนมันไม่มีจิตใจ
                                      เกิดปัญหา ปัญญาก็มีเท่านี้
                                      ผ่านฝนแดด 18 ปี เป็นทางแยกอันตราย
                                      อาจจะเหมือน อนาคตฉันไม่มี
                                      ใครใครเขามองไม่ดี แต่ใครจะรู้ข้างใน
   
    วัตถุประสงค์

          เพื่อให้วัยรุ่นไทยและผู้ปกครองตระหนักถึง  ปัญหาการใช้ชีวิตในสังคม   ไม่ประมาทในการใช้ชีวิตในช่วงวัยรุ่น และปลูกฝังเด็กให้เป็นคนดีของประเทศชาติ
   

    ฟังแล้วรู้สึกอย่างไร


        ฟังแล้ว ทำให้ดิฉันเข้าใจวัยรุ่นมากขึ้น บางครั้งผู้ใหญ่ก็ไม่ค่อยใส่ใจเด็กหรือไม่มีเวลาให้เด็ก ไม่ค่อยอบรมสั่งสอนลูกเต็มที่ทำให้เด็กติดเพื่อน และชวนกันไปทำในสิ่งที่ไม่ดี  ส่วนหนึ่งอาจเกิด จากผู้
ปกครองก็ได้
                                                 
      
    ท่อนที่ประทับใจ
                                      
เฝ้าอิจฉา ดูใครเขาพร้อมครอบครัว
ทำไมฉันมีแต่ตัว หวาดกลัวไม่รู้เรื่องราว
รู้บ้างไหม ในหัวใจ มันร้องหาใครสักคน
คอยปรึกษา คอยเข้าใจ
วิดิโอเพลง กล่อมเด็ก

บันทึกความรู้ครั้งที่ 6 วันที่ 19 กรกฎาคม 2556

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย


เวลา 13.10-16.40 น.

- อาจารย์ให้ดูบล็อกของแต่ละคน แล้วให้กลับไปแก้ไขในส่วนต่างๆ

- เนื่องจากมีนักศึกษากลับบ้านกันมากจึงปล่อยก่อนเวลา เพราะกลัวรถติด

- ช่วงกลับบ้านให้หาเพลงกล่อมเด็กประจำภาคของตัวเอง

          เพลงกล่อมเด็กภาคใต้
  นกเขียวเหอ       เกาะเรียวไม้พุก
 พ่อแม่อยูหนุก       โลกไปใช้นาย
           ฝนตกฟ้าร้อง       พ่อแม่เขาอยู่หนุกบาย
โลกไปใช้นาย       นั่งกินแต่น้ำตา

ความหมายของเพลงกล่อมเด็ก

          เพลงกล่อมเด็ก ความหมายชัดเจนอยู่แล้วคือ หมายถึงเพลงที่ใช้ร้องกล่อมให้เด็กนอน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เด็กหลับไวขึ้น และหลับอย่างมีความสุข ไม่รู้สึกว่าถูกทอดทิ้ง เนื้อร้องจะมีแต่ความอ่อนโยน อ่อนหวาน แสดงความเป็นห่วงเป็นใย ความเอ็นดู อบรมสั่งสอนให้เป็นเด็กดีกตัญญูรู้คุณคน ให้เมตตากรุณาต่อสัตว์ รู้จักความถูกต้อง สิ่งใดควรกระทำหรือไม่ควรกระทำ โดยมุงหวังให้เด็กโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่ดีทีคุณภาพคือมีความรู้คู่คุณธรรม โดยบทเพลงกล่อมเด็กจะไม่มีการว่า ด่า หรือเปรียบเปรยเด็กไปในทางไม่ดีเลย จะกล่าวแต่สิ่งที่ดีงามทั้งสิ้น บางบทอาจนำชื่อสัตว์มาหลอกเด็กให้หลับตาจะได้นอนหลับได้ไว เช่นบทตุ๊กแกกินตับ บางครั้งก็จะนำเอานิทานพื้นบ้านหรือเรื่องในวรรณคดีมากล่อม
ความแตกต่างของชื่อเพลงกล่อมเด็กในภาคต่างๆของไทย
เพลงกล่อมเด็กนั้นมีอยู่ทั่วโลก สำหรับของไทยนั้นพบมีอยู่ทุกภาคของประเทศ เนื้อหาคล้ายคลึงกัน แต่มีชื่อเรียกต่างกันคือ
ภาคกลาง เรียก เพลงกล่อมเด็ก
ภาคเหนือ เรียก เพลงอื่อ
ภาคอีสาน เรียก เพลงก่อมลูก หรือ เพลงนอนสาเด่อ
ภาคใต้ เรียก เพลงร้องเรือ หรือ เพลงชาน้อง



     #ความรู้ที่ได้รับจากการเรียนวิชานี้
                   -สามารถนำไปใช้ในการสอนได้จริง
                   -ทำให้มีความสามารถและกระบวนการมากขึ้น