วันอังคารที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บันทึกความรู้ครั้งที่ 6 วันที่ 19 กรกฎาคม 2556

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย


เวลา 13.10-16.40 น.

- อาจารย์ให้ดูบล็อกของแต่ละคน แล้วให้กลับไปแก้ไขในส่วนต่างๆ

- เนื่องจากมีนักศึกษากลับบ้านกันมากจึงปล่อยก่อนเวลา เพราะกลัวรถติด

- ช่วงกลับบ้านให้หาเพลงกล่อมเด็กประจำภาคของตัวเอง

          เพลงกล่อมเด็กภาคใต้
  นกเขียวเหอ       เกาะเรียวไม้พุก
 พ่อแม่อยูหนุก       โลกไปใช้นาย
           ฝนตกฟ้าร้อง       พ่อแม่เขาอยู่หนุกบาย
โลกไปใช้นาย       นั่งกินแต่น้ำตา

ความหมายของเพลงกล่อมเด็ก

          เพลงกล่อมเด็ก ความหมายชัดเจนอยู่แล้วคือ หมายถึงเพลงที่ใช้ร้องกล่อมให้เด็กนอน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เด็กหลับไวขึ้น และหลับอย่างมีความสุข ไม่รู้สึกว่าถูกทอดทิ้ง เนื้อร้องจะมีแต่ความอ่อนโยน อ่อนหวาน แสดงความเป็นห่วงเป็นใย ความเอ็นดู อบรมสั่งสอนให้เป็นเด็กดีกตัญญูรู้คุณคน ให้เมตตากรุณาต่อสัตว์ รู้จักความถูกต้อง สิ่งใดควรกระทำหรือไม่ควรกระทำ โดยมุงหวังให้เด็กโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่ดีทีคุณภาพคือมีความรู้คู่คุณธรรม โดยบทเพลงกล่อมเด็กจะไม่มีการว่า ด่า หรือเปรียบเปรยเด็กไปในทางไม่ดีเลย จะกล่าวแต่สิ่งที่ดีงามทั้งสิ้น บางบทอาจนำชื่อสัตว์มาหลอกเด็กให้หลับตาจะได้นอนหลับได้ไว เช่นบทตุ๊กแกกินตับ บางครั้งก็จะนำเอานิทานพื้นบ้านหรือเรื่องในวรรณคดีมากล่อม
ความแตกต่างของชื่อเพลงกล่อมเด็กในภาคต่างๆของไทย
เพลงกล่อมเด็กนั้นมีอยู่ทั่วโลก สำหรับของไทยนั้นพบมีอยู่ทุกภาคของประเทศ เนื้อหาคล้ายคลึงกัน แต่มีชื่อเรียกต่างกันคือ
ภาคกลาง เรียก เพลงกล่อมเด็ก
ภาคเหนือ เรียก เพลงอื่อ
ภาคอีสาน เรียก เพลงก่อมลูก หรือ เพลงนอนสาเด่อ
ภาคใต้ เรียก เพลงร้องเรือ หรือ เพลงชาน้อง



     #ความรู้ที่ได้รับจากการเรียนวิชานี้
                   -สามารถนำไปใช้ในการสอนได้จริง
                   -ทำให้มีความสามารถและกระบวนการมากขึ้น




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น